16 พฤศจิกายน, 2552

หลักการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย




1. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ไม่บอกชื่อนามสกุลจริง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ โดยเฉพาะเบอร์โทรศัพท์บ้าน เพราะผู้ร้ายสามารถใช้หมายเลขโทรศัพท์บ้านเพื่อโทรสอบถามที่อยู่ของเจ้าของบ้านได้จากบริการ 1133 ซึ่งเป็นบริการมาตรฐาน โจรผู้ร้ายและพวกจิตวิปริตอาจมาดักทำร้ายคุณได้ เวลาแช็ตก็ให้ใช้ชื่อเล่นหรือชื่อสมมุติแทน
2. ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆ รวมถึงรหัสบัตรต่างๆ เช่น เอทีเอ็ม บัตรเครดิต ฯลฯ ให้กับผู้อื่น แม้แต่เพื่อน เพราะเพื่อนเองก็อาจถูกหลอกให้มาถามจากเราอีกต่อหนึ่ง

3. ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้จริงๆ

4. ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต เว้นเสียแต่ว่าได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครอง และควรมีผู้ใหญ่หรือเพื่อนไปด้วยหลายๆ คน เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ



5. ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ เด็กต้องปรึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยต้องใช้วิจารณญาณ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ขาย เช่นดูประวัติ ดูการให้คอมเมนท์ Comment จากผู้ซื้อรายก่อนๆ ที่เข้ามาเขียนไว้ พิจารณาวิธีการจ่ายเงิน ฯลฯ และต้องไม่บอกรหัสบัตรเครดิต และเลขท้าย3หลักที่อยู่ด้านหลังบัตรให้แก่ผู้ขาย หรือใครๆ โดยเด็ดขาด เพราะเป็นรหัสสำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต คุณอาจถูกยักยอกเงินจากบัตรเครดิตจนเต็มวงเงินที่คุณมี แล้วมารู้ตัวอีกทีก็มีหนี้บานมหาศาล นอกจากนี้คุณผู้ปกครองก็ไม่ควรวางกระเป๋าเงินที่ใส่บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ ให้เด็กหยิบง่ายๆ เพราะคำโฆษณาล่อหลอกทางเน็ต อาจทำให้เด็กอยากซื้อสินค้าที่ไม่เหมาะสมบางอย่าง แล้วอาจมาเปิดดูรหัสบัตร เพื่อไปซื้อสินค้าออนไลน์ได้






6. สอนให้เด็กบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Internet Bullying)เช่น ได้รับอีเมล์หยาบคาย การข่มขู่จากเพื่อน การส่งต่ออีเมล์ข้อความใส่ร้ายป้ายสีรุนแรง หรือถูกนำรูปถ่ายไปตัดต่อเข้ากับภาพโป๊แล้วส่งไปให้เพื่อนทุกคนดู ถูกแอบถ่ายขณะทำภารกิจส่วนตัว เป็นต้น ให้เด็กบอกพ่อแม่ ถ้าเป็นการกลั่นแกล้งในหมู่เพื่อน พ่อแม่ควรแจ้งคุณครูหรือทางโรงเรียนและผู้ปกครองของเด็กคู่กรณีให้รับทราบพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของเพื่อนนักเรียน เพราะการกลั่นแกล้งด้วยความรู้เท่าไม่ถึง การณ์แบบนี้ อาจทำให้เด็กที่ถูกแกล้งเสียสุขภาพจิต ไม่อยากไปโรงเรียน และมีปัญหาการเรียนได้ ซึ่งพ่อแม่เองก็ควรจะสังเกตอาการลูกๆ ด้วยว่าซึมเศร้าผิดปกติหรือเปล่า และควรพูดคุยกันอย่างเปิดเผย ส่วนการกลั่นแกล้ง แบล็คเมล์ในกรณีรุนแรงควรแจ้งตำรวจเพื่อเอาโทษกับผู้กระทำผิด

7. ไม่เผลอบันทึกยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ การใช้คอมพิวเตอร์ที่โรงเรียน ที่อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ที่บ้านคนอื่นต้องระวังเวลาใส่ชื่อยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดในการ ล็อคอิน เข้าไปในเว็บไซท์ หรือเปิดใช้โปรแกรมต่างๆ เช่น เปิดเช็คอีเมล เปิดใช้โปรแกรมสนทนาMSN เปิดดูข้อมูลทางการเงินส่วนตัวผ่านเว็บไซท์ธนาคารที่ให้บริการออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การล็อคอินเข้าไปยังเว็บไซท์ เพื่อชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต จะต้องไม่เผลอไป ติ๊กถูกที่หน้ากล่องข้อความที่มีความหมายประมาณว่า “ให้บันทึก ชื่อผู้ใช้และพาสเวิร์ดของคุณบนเครื่องคอมพิวเตอร์นี้” อย่างเด็ดขาด เพราะผู้ที่มาใช้เครื่องต่อจากคุณ สามารถล็อคอินเข้าไป จากชื่อของคุณที่ถูกบันทึกไว้ แล้วสวมรอยเป็นคุณ หรือแม้แต่โอนเงินในบัญชีของคุณจ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ ที่เขาต้องการ ผลก็คือคุณอาจหมดตัวและล้มละลายได้


8. การใช้โปรแกรม MSN อย่างปลอดภัยถ้าเจอเพื่อนทางเน็ตที่พูดจาข่มขู่ หยาบคาย ชวนคุยเรื่องเซ็กซ์ พยายามชวนออกไปข้างนอก ให้เลิกคุย และควรบอกพ่อแม่ด้วย รวมทั้งสกัดกั้น Block ชื่อของเพื่อนคนนั้นๆ ไม่ให้เข้ามาคุยกับเรา/ลูกของเรา หรือไม่ให้ส่งอีเมล์มาหาเราได้อีก นอกจากนี้คุณยังสามารถตั้งค่าการใช้งานโปรแกรมสนทนาให้เป็นแบบ Private ได้ เช่น ในโปรแกรมสนทนายอดนิยมอย่าง MSN Messenger สามารถตั้งค่าให้เพื่อนใหม่ที่อยากจะเข้ามาคุยกับคุณ ต้องขออนุญาติก่อน เมื่อคุณตอบตกลง เขาจึงส่งข้อความมาคุยโต้ตอบกับคุณได้ ซึ่งถ้าไม่ได้ตั้งค่าเอาไว้ ใครๆ ก็สามารถส่งข้อความมาถึงคุณได้ ซึ่งถ้าผู้ใช้เป็นเด็ก อาจได้รับข้อความถามขนาดอวัยวะ ข้อความชวนไปมีเซ็กซ์พร้อมบรรยายสรรพคุณต่างๆ ข้อความเสนอขายเซ็กซ์ทอย ฯลฯโผล่ขึ้นมาได้ ซึ่งคงไม่ดีแน่ ดังนั้นการตั้งค่า Privacy จึงเป็นการ สกรีนผู้ใช้ และป้องกันไม่ให้คุณหรือเด็ก ได้รับข้อความลามก ข้อความเชิญชวนแปลกๆ จากผู้ใช้ที่เราไม่รู้จักและไม่อยากจะคุยด้วย นอกจากนี้ ไม่ควรใส่ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อนามสกุลจริง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ในข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ ถ้าเคยใส่ไว้ ให้ลบออกให้หมด ถึงแม้ว่าคุณจะใช้โปรแกรมสนทนาอื่นๆ เช่น ICQ หรือแช็ตรูมตามเว็บไซท์วัยรุ่นอื่นๆ ก็ขอให้ยึดหลักปฏิบัติเดียวกันนี้ เพื่อความปลอดภัย






9. ระวังการใช้กล้องเว็บแคมขณะที่เราใช้โปรแกรมสนทนา เช่น MSN เราสามารถใช้กล้องเว็บแคมเพื่อให้คู่สนทนาเห็นภาพวีดีโอสดของเราได้ ถ้าเขาเองก็มีกล้องเว็บแคมเช่นกัน เราก็จะเห็นหน้าของเขาด้วย ยิ่งถ้ามีไมโครโฟนเสียบต่อกับคอม ก็จะสามารถพูดคุยออนไลน์แบบเห็นภาพและเสียงได้เลย ประหยัดและใช้ดีกว่าโทรศัพท์โดยเฉพาะเวลาคุยกับคนที่อยู่ต่างประเทศ แต่ผู้ใช้จะต้องใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเท่านั้น จึงจะส่งผ่านภาพ และเสียงได้ทัน ที่น่าเป็นห่วงก็คือ การใช้แช็ตกับเพื่อนใหม่ ที่เพิ่งรู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต เขาสามารถบันทึกภาพของเราขณะพูดคุยกับเขา เพื่อเอาไปใช้ในทางไม่ดีๆ ได้ เช่น เอาไปตัดต่อ แล้วขาย นอกจากนี้ ถ้าผู้ใช้เป็นเด็ก อาจถูกมิจฉาชีพออนไลน์ พยายามขอให้เด็กเปิดเว็บแคม เพื่อจะได้เห็นภาพ/เสียง ของเด็กชัดๆ หลอกให้เด็กเอากล้องเว็บแคม หันไปยังทิศต่างๆ ของบ้าน เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดบ้าน เตรียมการลักพาตัว หรือ โจรกรรมได้ ดังนั้น การติดตั้งอุปกรณ์เสริม อย่างกล้อง และไมค์ นี้ผู้ปกครองควรพิจารณาให้ดี ว่าสมควรหรือไม่ เด็กโตพอที่จะระมัดระวังป้องกันตัว และไม่หลงเชื่อพวกล่อลวงออนไลน์แล้วหรือยังนอกจากนี้การติดกล้องเว็บแคมที่ต่อติดอยู่กับเครื่องคอมตลอดเวลา เพราะระหว่างที่คุณไม่ได้อยู่หน้าเครื่องคอมฯ แต่ต่ออินเทอร์เน็ตทิ้งไว้ นักแคร็กมืออาชีพ พวกมิจฉาชีพไฮเทค สามารถล็อคเข้ามาในเครื่องของคุณ และสั่งเปิดกล้องเว็บแคมของคุณ เพื่อแอบบันทึกภาพบ้านของคุณ ประตู หน้าต่าง ทางเข้าออก เพื่อเตรียมการโจรกรรม หรือแอบถ่ายอิริยาบถของคุณตอนที่ไม่รู้ตัว แล้วเอาไปขายเป็นวีซีดีประเภทแอบถ่ายทั้งหลาย เรื่องแบบนี้ เกิดขึ้นจริงในต่างประเทศ อาจเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย แต่คงยังไม่รู้ตัวกัน ดังนันให้ถอดกล้องเว็บแคมออกทุกครั้งที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ และถ้าไม่มีความจำเป็น ก็ไม่ต้องต่ออินเทอร์เน็ตทิ้งเอาไว้ถึงจะใช้บรอดแบรนด์(ไฮสปีด)อินเทอร์เน็ตก็ตาม



10 .ไม่ควรบันทึกภาพวิดีโอ หรือเสียงที่ไมเหมาะสมบนคอมพิวเตอร์ หรือบนมือถือ เพราะภาพ เสียง หรือวีดีโอนั้นๆ รั่วไหลได้ เช่นจากการแคร็ก ข้อมูล หรือถูกดาวน์โหลดผ่านโปรแกรม เพียร์ ทู เพียร์ (P2P) และถึงแม้ว่าคุณจะลบไฟล์นั้นออกไปจากเครื่องแล้ว ส่วนใดส่วนหนึ่งของไฟล์ยังตกค้างอยู่ แล้วอาจถูกกู้กลับขึ้นมาได้ โดยช่างคอม ช่างมือถือ

11. จัดการกับ Junk Mail จังค์ เมล์ หรือ อีเมล์ขยะปกติ การใช้อีเมล์จะมีกล่องจดหมายส่วนตัว หรือ Inbox กับ กล่องจดหมายขยะ Junk mail box หรือ Bulk Mail เพื่อแยกแยะประเภทของอีเมล์ เราจึงต้องทำความเข้าใจ และเรียนรู้ที่จะคัดกรองจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตัวเอง เพื่อกันไม่ให้มาปะปนกับจดหมายดีๆ ซึ่งเราอาจเผลอไปเปิดอ่าน แล้วถูกสปายแวร์ แอดแวร์เกาะติดอยู่บนเครื่อง หรือแม้แต่ถูกไวรัสคอมพิวเตอร์เล่นงาน
เวลาที่คุณใช้อีเมล์ ถ้าใครที่เป็นเพื่อนหรือคนรู้จัก ให้คุณ เซฟ (Save) หรือ บันทึกอีเมล์ของเพื่อนคุณเอาไว้ในสมุดจดที่อยู่(Address Book) ซึ่งจะมีอยู่แล้วใน Inbox หรือกล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัวของคุณ
เวลาที่คุณพบอีเมล์ที่มาจากคนไม่รู้จัก อีเมล์ที่มีหัวข้อส่อไปในทางลามก หรือพยายามขายสินค้า ให้คุณไปคลิกเลือกที่หน้าอีเมล์นั้น แล้วเลือก Block หรือสกัดกั้น เขาก็จะส่งอีเมล์มาหาเราไม่ได้อีก
แต่เนื่องจากอีเมล์ขยะมีจำนวนมากมาจากหลายที่หลากหลายชื่อผู้ส่งจนบางครั้งเว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล ของเราเองก็สกัดกั้นไม่ไหว เราก็ต้องค่อยๆ เลือกทีละอันแล้ว คลิกแจ้งว่าอีเมล์นี้เป็นอีเมล์ขยะ (Report as junk mail) ในครั้งต่อไป อีเมล์นั้นก็จะตกไปอยู่ใน Junk Mail Box แทน
บางครั้งอีเมล์จากเพื่อนใหม่ที่เป็นเพื่อนของเราจริงๆ ส่งมาหาเราแต่เรายังไม่เคยบันทึกชื่ออีเมล์ของเขาไว้ในaddress book มาก่อน อีเมล์ของเพื่อนคนนั้นก็จะตกไปอยู่ในกล่องจดหมายขยะปะปนกับขยะจริงๆ เราจึงต้องหมั่นเข้าไปตรวจดูกล่องจดหมายขยะ เพื่อเลือกอีกครั้งว่ามีจดหมายดีๆ หลงเข้าไปอยู่บ้างหรือไม่ ถ้ามี ก็แค่บันทึกชื่ออีเมล์ของเพื่อนคนนั้นไว้ในสมุดจดที่อยู่ เพื่อที่คราวต่อไปเมื่อเพื่อนส่งอีเมล์มาหาก็จะตรงเข้ากล่องจดหมายหลักแทนที่จะเข้ากล่องจดหมายขยะ
ปกติถ้าคุณเป็นคนที่ใช้อีเมล์ ควรหมั่นเข้าไปเช็คเมล์เรื่อยๆเพราะบางครั้งอีเมล์ขยะก็อาจจะทำให้พื้นที่รับจดหมายของคุณเต็ม ทำให้พลาดโอกาสรับข่าวสารดีๆ หรือข้อมูลสำคัญจากเพื่อนๆ
คุณควรมีอีเมล์ไว้ใช้อย่างน้อย 3 อีเมล์แอคเค้าท์ อันแรกอาจเป็นอีเมล์งาน เอาไว้ติดต่อธุรกิจเท่านั้น ซึ่งไม่ควรให้อีเมล์นี้กับคนทั่วไป อันที่สองคืออีเมล์ไว้ใช้ติดต่อกับเพื่อนๆ และอันที่ 3 ใช้เวลาไปกรอกข้อมูลสมัครสมาชิก ร่วมรายการชิงโชคต่างๆ เพื่อกันพวกสแปมเมล์ ไวรัสเมล์ แอดแวร์ สปายแวร์ ออกจากอีเมล์หลักที่ใช้เป็นประจำให้มากที่สุด


12. จัดการกับแอดแวร์ สปายแวร์จัดการกับสปายแวร์แอดแวร์ที่ลักลอบเข้ามาสอดส่องพฤติกรรมการใช้เน็ตของคุณ ด้วยการซื้อโปรแกรมหรือไปดาวน์โหลดฟรีโปรแกรมมาดักจับและขจัดเจ้าแอดแวร์ สปายแวร์ออกไปจากเครื่องของคุณ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีได้ที่ www.lavasoftusa.com/software/adaware/ www.safernetworking.org แต่แค่มีโปรแกรมไว้ในเครื่องยังไม่พอ คุณต้องหมั่นอัพเดทโปรแกรมออนไลน์และสแกนเครื่องของคุณบ่อยๆด้วย เพื่อให้เครื่องของคุณปลอดสปาย ข้อมูลของคุณก็ปลอดภัย* โปรแกรมล้าง แอดแวร์ และ สปายแวร์ จะใช้โปรแกรมตัวเดียวกัน ซึ่งบางครั้งเขาอาจตั้งชื่อโดยใช้แค่เพียงว่า โปรแกรมล้าง แอดแวร์ แต่อันที่จริง มันลบทิ้งทั้ง แอดแวร์ และสปายแวร์พร้อมๆ กัน เพราะเจ้าสองตัวนี้ มันคล้ายๆ กัน

13. จัดการกับไวรัสคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมีโปรแกรมสแกนดักจับและฆ่าไวรัส ซึ่งอันนี้ควรจะดำเนินการทันทีเมื่อซื้อเครื่องคอม เนื่องจากไวรัสพัฒนาเร็วมาก มีไวรัสพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน แม้จะติดตั้งโปรแกรมฆ่าไวรัสไว้แล้ว ถ้าไม่ทำการอัพเดทโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ต เวลาที่มีไวรัสตัวใหม่ๆ แอบเข้ามากับอินเทอร์เน็ต เครื่องคุณก็อาจจะโดนทำลายได้ โปรแกรมตรวจจับไวรัสที่นิยมได้แก่ Norton Antivirus นอร์ตันแอนไทไวรัส, McAfee VirusScan แมคอะฟี่ ไวรัสสแกน, Kaspersky Anti-Virus Personal แคสเปอร์สกาย แอนไทไวรัส เพอเซินนอล, Trend PC-Cillin เทรนด์ พีซี ซิลลิน ฯลฯซึ่งคุณสามารถไปซื้อแผ่นโปรแกรม หรือ จะดาวน์โหลดฟรีโปรแกรม (AVG Virus Scan Free Edition) มาใช้ก็ได้ ที่ http://free.grisoft.com/freeweb.php/doc/2/ นอกจากโปรแกรมเหล่านี้จะช่วยดักจับไวรัสแล้ว ยังมีโปรแกรมเสริมที่เรียกว่า Firewall เช่น McAfree Personal Firewall Plus, Norton Personal Firewall หรือแม้แต่ในตัว WindowsXP Service Pack2 ขึ้นไป ก็จะมีโปรแกรมไฟร์วอล มาให้ด้วยซึ่ง ไฟร์วอลนี้ทำหน้าที่เหมือนตำรวจจราจรออนไลน์ คอยหยุดตรวจและดักจับสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามารุกรานเครื่องคุณซึ่งจะช่วยป้องกันการถูกคนนอกเข้ามาแคร็กเอาข้อมูลจากเครื่องของคุณได้ นอกจากนี้ยังช่วยสกัดกั้นสิ่งแปลกปลอมที่อาจจะออกจากเครื่องของคุณ เช่นกรณีคอมของคุณติดไวรัส เป็นต้น โดยไฟร์วอลนี้ จะคอยตั้งคำถามคุณเสมอเวลาคุณเปิดเว็บไหน หรือใช้โปรแกรมอะไร เพื่อรอฟังคำอนุญาติของคุณ แล้วจดบันทึกเอาไว้ว่า เว็บลักษณะนี้ โปรแกรมประเภทนี้คุณอนุญาติหรือไม่อนุญาติให้ใช้ นอกจากจะช่วยกันพวกไวรัส สแปม สปายแล้วยังเป็นการสกรีนและป้องกันการเปิดเข้าไปในเว็บไม่เหมาะสมได้ทางหนึ่ง สำหรับโปรแกรมไฟร์วอลนี้ ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า จำเป็นต้องใช้จริงหรือ สามารถช่วยกันเด็กจากเว็บไม่เหมาะ สมได้จริงหรือ คุณจะใช้หรือไม่คงต้องตัดสินใจกันเอาเอง แต่สำหรับโปรแกรมดักจับไวรัสคอมฯ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องแน่นอน

14. ใช้ Adult Content Filter ในโปรแกรม P2Pสำหรับผู้ชื่นชอบการดาวน์โหลดผ่านโปรแกรมแชร์ข้อมูล P2P ให้ระวังข้อมูลสำคัญ ไฟล์ภาพ วีดีโอส่วนตัว หรืออะไรที่ไม่ต้องการจะเปิดเผยสู่สาธารณะชน ควรบันทึกลงซีดี ดีวีดี หรือเทปไว้ อย่าเก็บไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะคุณอาจถูกเจาะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปได้ สำหรับครอบครัวที่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมดาวน์โหลด แต่ก็ไม่อยากให้เด็กในบ้า




ที่มาhttp://safenet.wetpaint.com/page

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Copyright ۞ ต้อย™۞ 2009. Powered by Blogger.Designed by Ezwpthemes .
Converted To Blogger Template by Anshul .